กฎหมายแรงงานสัมพันธ์
กฎหมายแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์

องค์กรนายจ้าง/ลูกจ้าง

ที่ปรึกษาด้านแรงงานสัมพันธ์

กรรมการไตรภาคี

การส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์

โครงการ/กิจกรรม

  แรงงานสัมพันธ์ หมายถึงอะไร

  แรงงานสัมพันธ์ หมายถึง ความเกี่ยวข้อง หรือการปฏิบัติต่อกันระหว่างนายจ้าง องค์กรนายจ้าง กับลูกจ้าง  องค์กรลูกจ้าง ตั้งแต่เริ่มเข้าทำงาน จนออกจากงาน เช่น การทำสัญญาจ้างแรงงาน การมอบหมายงาน การควบคุมการทำงาน การทดลองงาน การปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานการจ่ายค่าจ้าง การอบรมพัฒนา การจัดสวัสดิการแรงงาน ความปลอดภัยในการทำงาน การเลื่อนขั้นเงินเดือน  การลงโทษ การพิจารณาความดีความชอบ การโยกย้าย การยื่นข้อเรียกร้อง  การเจรจาข้อเรียกร้อง การนัดหยุดงาน  การปิดงาน การทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง การเลิกจ้าง เป็นต้น

    ที่กล่าวข้างต้น เป็นความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันเพียง 2 ฝ่าย คือนายจ้าง กับลูกจ้าง เรียกว่า แรงงานสัมพันธ์ระบบทวิภาคี  อย่างไรก็ตามหากนายจ้างและลูกจ้างมีความขัดแย้งกัน มีข้อพิพาทแรงงาน หรือต้องการให้ภาครัฐเข้าไปมีส่วนร่วมในระบบแรงงานสัมพันธ์ด้วย จะมีฝ่ายที่ 3 คือภาครัฐเข้าไปในระบบแรงงานสัมพันธ์ เรียกว่า แรงงานสัมพันธ์ระบบทวิภาคี ลักษณะกิจกรรมที่ภาครัฐจะเข้าไปร่ีวมด้วย เช่น การเจรจาแก้ไขข้อขัดแย้ง  การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงาน การเข้าไปส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ การร่วมเป็นคณะกรรมการไตรภาคีต่าง ๆ เป็นต้น

                      

กระบวนการแรงงานสัมพันธ์
     ความจริง นายจ้างและลูกจ้างถูกกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างกันไว้แล้วตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่เป็นการกำหนดความสัมพันธ์ขั้นพื้นฐานที่ทั้ง 2 ฝ่ายต้องเกี่ยวข้องและปฏิบัติต่อกัน เรียกว่าเป็นการแรงงานสัมพันธ์ขั้นพื้นฐาน เช่น ฏฎหมายบังคับว่านายจ้างต้องกำหนดเวลาทำงานไม่เกินวันละ 8 ชั่วโมง ต้องจัดให้มีวันหยุด ต้องจ่ายค่าจ้าง ต้องจัดสภาพการทำงานให้ปลอดภัย ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเมื่อเลิกจ้าง เป็นต้น

     แต่ในความเป็นจริง นายจ้างและลูกจ้างยังมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันมากกว่าที่กฎหมายกำหนดอีกมากมาย เช่น นายจ้างจัดสวัสดิการแรงงานนอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนด ลูกจ้างขอมีส่วนถือหุ้นของบริษัท ลูกจ้างขอมีส่วนแสดงความคิดเห็นในการบริหารร่วมกับนายจ้าง เป็นต้น เหล่านี้เกิดจากเจรจาต่อรองระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง เรียกว่าการแรงงานสัมพันธ์ขั้นสูง หรือการแรงงานสัมพันธ์ระดับเจรจาต่อรอง

                  

 

ขั้นตอนกระบวนการแรงงานสัมพันธ์ขั้นสูง มีดังนี้
      1.นายจ้าง หรือลูกจ้างยื่นข้อเรียกร้องต่อกันเป็นหนังสือ
      2.ตั้งตัวแทนฝ่ายละไม่เกิน 7 คน เข้าเจรจาต่อรองกัน
      3.ถ้าตกลงกันได้ จัดทำบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างและจดทะเบียนข้อตกลงกับเจ้าหน้าที่
      4.แต่ละฝ่ายปฎิบัติตามข้อตกลง มีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน
 ิ     5.ถ้าเจรจาตกลงกันเองไม่ได้ถือว่าเกิดข้อพิพาทแรงงาน ต้องแจ้งให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานเข้าไปร่วมเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงาน
       6.ถ้าไกล่เกลี่ยตกลงกันได้ก็จัดทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างและจดทะเบียนข้อตกลง
      7.ถ้าเจรจาไกล่เกลี่ยตกลงกันไม่ได้ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจกดดันอีกฝ่ายโดย ฝ่ายลูกจ้างนัดหยุดงาน หรือฝ่ายนายจ้างปิดงาน จนกว่าอีกฝ่ายจะยินยอมตกลงด้วย
ตามที่กล่าวข้างต้น เป็นขั้นตอนคร่าว ๆ นะครับ ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยที่ต้องศึกษาเพิ่มเติมอีก เช่น การนับระยะเวลา วิธีการต่าง ๆ ต้องดูจาก พรบ.แรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518

นี่คือกระบวนการขั้นตอนแรงงานสัมพันธ์ที่ถูกต้อง  แตที่่ท่านเห็นเขาพากันเดินขบวนไปทำเนียบ ไปกระทรวงแรงงาน ไปสนามหลวงนั้น เป็นเรื่องนอกเหนือกระบวนการแรงงานสัมพันธ์ แต่พวกเขาอาจทำได้ตามรัฐธรรมนูญ ถ้าไม่สร้างความเดือดร้อนให้ใคร ก็คงไม่เป็นไร...

 


Title Goes Here