Home
About us
Economics
Do u know?
Test
Econ web
Guest book
Hong4's web

 

Econ Hong4

::::: Economics :::::

สหภาพยุโรป (European Union EU)

                สหภาพยุโรป พัฒนามาจาก ประชาคมยุโรป ซึ่งเป็นกลุ่มที่รวมองค์การทางเศรษฐกิจ 3 องค์การเข้าด้วยกัน คือ ประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้ายุโรป ประชาคมเศรษฐกิจยุโรปหรือตลาดร่วมยุโรป และประชาคมพลังงานปรมาณูยุโรป จัดตั้งขึ้นเพื่อยกระดับทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรปให้ดีขึ้น โดยอาศัย ความร่วมมือของประเทศสมาชิก

ประวัติก่อตั้ง

            พ.ศ. 2493 ประเทศฝรั่งเศสมีโครงการจะก่อตั้งประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้ายุโรป (The European Coal and Steel Community : ECSC) ขึ้น เพราะนอกจากจะเป็น การช่วยยกฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศในยุโรปแล้ว ยังเป็นการสร้างพื้นฐาน ในการที่จะก้าวไปสู่การเป็นสหพันธรัฐในอนาคตอีกด้วย ฝรั่งเศสจึงขอความร่วมมือ จากประเทศต่างๆในยุโรป โดยการแถลางการณ์ต่อบรรดาผู้แทนของหนังสือพิมพ์ทั่วโลก และเมื่อฝรั่งเศสแถลงการณ์ออกไปแล้ว ประเทศเยอรมนี เบลเยี่ยม อิตาลี ลักเซมเบิร์ก และเนเธอร์แลนด์ ได้ตกลงร่วมกันสมัครเข้าเป็นสมาชิก และได้จัดตั้งเป็นองค์การ ECSC อย่างเป็นทางการขึ้น เมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2494

            ต่อมาผู้นำทั้ง 6 ได้ร่วมกันจัดตั้งองค์การป้องกันยุโรป (European Defence Council : EDC) ขึ้นอีกองค์การหนึ่ง เพื่อให้ประเทศสมาชิกได้มีความร่วมมือกันทางการเมือง และเพื่อเป็นการสนับสนุนองค์การนาโตด้วย และในการจัดตั้งองค์การนี้ จะทำให้ยุโรปมีกองทัพที่สมบูรณ์ แต่ EDC ก็ไม่สามารถดำเนินงานต่อไปได้ เพราะรัฐสภาของฝรั่งเศสไม่ยอมให้สัตยาบัน แต่ด้วยความจำเป็นที่ยุโรปจะต้องมี นโยบายต่างประเทศร่วมกันเพื่อจะให้กองทัพมีบูรณภาพ รัฐมนตรีการต่างประเทศ ของประเทศสมาชิกทั้ง 6 จึงมอบหมายหน้าที่ให้สภาของ ECSC เตรียมโครงการ จัดตั้งประชาคมการเมืองยุโรป (European Political Community : EPC) ขึ้น เพื่อเสนอต่อรัฐบาลของประเทศทั้ง 6 องค์การ EPC มีจุดประสงค์ ที่จะดำเนินนโยบายทางการต่างประเทศและการป้องกันประเทศ แต่ก็ถูกวิจารณ์อย่างรุนแรง ดังนั้น EPC จึงต้องล้มเลิกโครงการไป ต่อมาประเทศทั้ง 6 ก็เปลี่ยนแนวทาง จากการรวมตัวทางการเมืองมาเป็นการรวมตัวทางเศรษฐกิจแทน และได้ร่วมมือกันต่อตั้ง กลุ่มประชาคมเศรษฐกิจยุโรปหรือตลาดร่วมยุโรป (The European Economic Community : EEC) และประชาคมพลังงานปรมาณูยุโรปหรือยูเรตอม (European Atomic Energy Community : EAEC หรือ Euratom) ขึ้นใน พ.ศ.2500 การก่อตั้งองค์การทั้ง 2 นี้ ก็เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จในการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่สำคัญของยุโรปตะวันตก คือ ECSC , EEC , และ FAEC โดยเฉพาะองค์การ EEC และ EAEC นี้ มีลักษณะคล้ายคลึงกับ ECSC มาก แต่มีอำนาจน้อยกว่า ECSC และต่อมาเพื่อเป็นการเสริมสร้างความมั่นคง ให้แก่ทวีปยุโรป จึงมีการรวมองค์การบริหารของ ECSC , EEC และ EAEC เข้าด้วยกัน ใช้ชื่อว่า ประชาคมยุโรป (European Community : EC) ในพ.ศ. 2510 เพื่อผลประโยชน์ ทางด้านเศรษฐกิจ ต่อมาเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2536 เปลี่ยนชื่อเป็น สหภาพยุโรป (European Union : EU) ขึ้น เพราะนอกจากจะร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจแล้ว ยังเป็นองค์การความร่วมมือทางด้านการเมืองระหว่างประเทศสมาชิกด้วย

            ในปัจจุบัน EU มีสมาชิก 15 ประเทศ โดยได้รับสมาชิกใหม่เข้ามาร่วมตามลำดับก่อนหลัง ดังนี้

            สมาชิกเดิม : ฝรั่งเศส เยอรมนี เบลเยี่ยม อิตาลี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์

            พ.ศ. 2516 : เดนมาร์ก ไอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร

            พ.ศ. 2522 : กรีซ

            พ.ศ. 2529 : โปรตุเกส สเปน

            พ.ศ. 2538 : ออสเตรีย ฟินแลนด์ และสวีเดน

 

วัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง

            1. เพื่อรวบรวมระบบเศรษฐกิจ ความร่วมมือในการพัฒนาสังคม และการปกครองแบบประชาธิปไตยของประเทศสมาชิกให้เป็นอันหนึ่งอันเดียว

            2. เพื่อยกระดับการดำรงชีวิตของประชากรชาวยุโรปให้ดีขึ้น

            3. เพื่อจัดตั้งสหภาพศุลกากรโดยการขจัดอุปสรรคต่างๆทางการค้าระหว่างประเทศ

 

วัตถุประสงค์ของการเป็นสหภาพเศรษฐกิจและการเงิน

            1. ให้ประเทศสมาชิกทั้งหมดมีการใช้เงินตราสกุลเดียวกัน (Single Currency)

            2. ให้มีการจัดตั้งสถาบันการเงินแห่งยุโรป (European Monetary Institute : EMI) ขึ้นภายในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2537 เพื่อเป็นการรองรับการจัดตั้งธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank : ECB) ซึ่งมีหน้าที่ในการออกเงินตราสกุลเดียวกัน เพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการค้าระหว่างประเทศสมาชิก

            3. ให้ประเทศสมาชิกประสานงานนโยบายเศรษฐกิจในด้านต่างๆเพื่อลดความแตกต่าง ทางด้านค่าเงินของแต่ละประเทศ

 

ผลการปฏิบัติงาน

            ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนกระทั่งถึง พ.ศ.2525 ปรากฏว่าสหภาพยุโรป ได้มีการติดต่อค้าขาย ระหว่างกัน มีมูลค่าสูงถึง 25 เท่าของ พ.ศ.2501 และในการค้ากับต่างประเทศโดยเฉพาะ ในกลุ่มประเทศที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด หากเปรียบเทียบการค้าใน พ.ศ. 2501 และ 2525 แล้ว ปรากฏว่าสหภาพยุโรปส่งสินค้าออกไปยังกลุ่มประเทศที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด มีมูลค่าสูงถึง 18 เท่า และสั่งสินค้าเข้าสูงขึ้นถึง 13 เท่าของ พ.ศ.2501 ทั้งนี้ก็เพราะสหภาพยุโรปได้เลิกการจำกัด ปริมาณสินค้าเข้าและยกเลิกระบบภาษีศุลกากรจาก ประเทศสมาชิกอย่างเด็ดขาดและ ลดหย่อนข้อจำกัดอื่นๆแก่ประเทศนอกกลุ่มสมาชิกลง

           กล่าวได้ว่าสหภาพยุโรปได้พัฒนาไปจนเกือบถึงระดับการเป็นสหภาพเศรษฐกิจสมบูรณ์แบบอัน เป็นขั้นสูงสุดของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ สหภาพยุโรปจึงได้ก้าวขึ้นมาเป็นองค์การความร่วมมือ ทางด้านการเมือง กล่าวคือ ใน พ.ศ. 2534 สภาสหภาพยุโรป (EU Parlimanent) ได้คัดเลือกเจ้าหน้าที่บริหารขึ้นมา 20 คน เพื่อจัดให้มีการประชุมระหว่างประเทศและ ดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ของสนธิสัญญามาสตริกต์ (Maastricht Treaty, 1992) ในการที่จะให้ประเทศสมาชิกได้ใช้เงินหน่วยเดียวกัน ตั้งแต่ พ.ศ. 2542 หรืออย่างช้าไม่เกิน พ.ศ.2545 และกำหนดกรอบนโยบายป้องกันประเทศ และนโยบายต่างประเทศร่วมกัน แต่การดำเนินการดังกล่าว ยังต้องประชุมปรึกษาหารือกันต่อไป ทั้งนี้เพราะประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรป ต่างมีภาระเศรษฐกิจ สังคม และประชากรแตกต่างกัน

            สำหรับความคืบหน้าในด้านความร่วมมือกันทางการเงิน สหภาพยุโรปได้ตั้งธนาคาร กลางยุโรปขึ้นเมื่อ พ.ศ.2541 และตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2541 สมาชิกสหภาพยุโรป 11 ประเทศ (ยกเว้น สหราชอาณาจักร เดนมาร์ก สวีเดน และกรีซ) ได้เริ่มร่วมกันใช้เงินสกุลเดียว

 

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกลุ่มสหภาพยุโรป

            1. ด้านการเมือง ไทยกับประเทศต่างๆ ในกลุ่มสหภาพยุโรปได้มีความสัมพันธ์อันดี ตลอดมาโดยมีผู้นำของแต่ละฝ่ายได้เดินทางไป เยี่ยมเยือนเพื่อกระชับสัมพันธไมตรีต่อกัน

            2. ด้านการค้าขาย ไทยได้มีการค้าขายกับประเทศสมาชิกของกลุ่มสหภาพยุโรป มาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน โดยเฉพาะกับสหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี อิตาลี และเดนมาร์ก กระทั่งถึงปัจจุบัน ไทยก็ยังมีสัมพันธไมตรีทางการค้ากับประเทศเหล่านี้อยู่ สินค้าสำคัญ ของไทยที่ส่งให้กับประเทศต่างๆในกลุ่มประเทศในสหภาพยุโรป ได้แก่ มันสำปะหลัง สิ่งทอ และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ส่วนสินค้าที่ไทยนำเข้า ได้แก่ เครื่องจักรกล และยานยนต์

            3. ด้านสังคมและวัฒนธรรม ไทยมักจะได้รับความสนใจและความช่วยเหลือจากประเทศสมาชิกในกลุ่มสหภาพยุโรปอยู่เสมอ เช่น การส่งนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญทางด้านต่างๆ มาให้คำแนะนำหรือเป็นที่ปรึกษา โครงการต่างๆ และการให้ทุนแก่นักศึกษาไทยไปศึกษาต่อ ณ ประเทศเหล่านั้น

 

               

                                                            

 

Copyright © 2004 "Econ-Hong4!™. All rights reserved. Do you like it?